โพสต์ : 2018-07-26 12:40:50 | |||||||||||
วัสดุ/อุปกรณ์ในการทอผ้าพื้นเมือง 1. เครื่องหีด เป็นเครื่องรีดเมล็ดฝ้ายและฝ้ายให้แตกเป็นเส้นใย 2. เครื่องโว้น เป็นเครื่องกรอเส้นด้าย 3. ฟันหวีหรือฟืม เป็นไม้ซี่สำหรับตีกระทบด้ายเส้นนอนที่ได้สอดสานให้แน่นสนิท 4. ตะกอ/ตระกอ คือส่วนที่ใช้สอดด้ายเป็นด้ายยืน และแบ่งด้ายยืนออก เป็นหมู่ๆ ตามต้องการ เพื่อที่จะพุ่งกระสวยเข้าหากันได้สะดวก 5. กระสวย สำหรับบรรจุด้ายเส้นพุ่ง 6. ไม้อ้อ เป็นแกนไม้กลางกระสวย ถอดแยกออกจากกันได้ ใช้พันด้ายสำหรับทอ 7. ส่วนประกอบของเครื่องมือทอผ้าที่เรียกว่า กี่ มีดังนี้ - เขาย่ำ สำหรับใส่ด้ายเส้นยืนเขาของกี่พื้นเมืองล้านนามี ๑ คู่ - ขอบฟืม เป็นไม้ให้จับขอบฟืมได้สะดวก - กระสวย สำหรับบรรจุด้ายเส้นพุ่ง - ม้านั่ง เป็นที่นั่งในการกรอ - เขารอก ติดระหว่างม้านั่งและเขาย่ำใช้ดึงเขาขึ้นๆลงๆ ฃ - ม้าย่ำ คือ แผงไม้พันด้ายเป็นช่องผ่านของเส้นยืนมายังไม้กำพั่น - ไม้กำพั่น คือ แกนไม่ข้างหน้าม้านั่ง ใช้ม้วนผ้าที่ทอแล้ว - เชือกดึง คือ เชือกดึงเขา ม้าย่ำ เขารอก ไว้กับโครงกี่ วิธีการขั้นตอนการทอผ้าพื้นเมือง 1. กรอเส้นด้ายด้วยเครื่องโว้น เพื่อให้ได้เส้นด้ายแต่ละสีเตรียมไว้สำหรับการเดินด้าย 2. เดินด้ายตามขนาดของหน้าผ้าที่ต้องการ เช่น ผ้าขาวม้า ใช้ฟันหวีเบอร์ 65 จะเดินด้าย 980 เส้น 3. นำด้ายที่เดินไว้แล้วเข้าฟันหวี โดยการนำเส้นด้ายใส่เข้าไปทุกซี่ของฟันหวีตามขนาดของผ้าที่ต้องการ การนำเส้นด้ายเข้าฟันหวีจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าเหล็กแส่ ช่วยเพื่อให้สะดวกและประหยัดเวลา เหล็กแส่ 4. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน มัดเข้ากี่ให้ตึง 5. เก็บตะกอแต่ละชุดและฟันหวี โดยเก็บข้างล่างให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยเก็บด้านบน 6. ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ 7. กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง 8. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อยๆ 9. การกระทบฟันหวีเมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน จะได้เป็นเนื้อผ้าที่แน่นตามต้องการ 10. การต่อด้ายเมื่อด้ายหมด ทำโดยการนำปลายด้ายในหลอดใหม่เอามาสอดในตำแหน่งที่ด้ายหมด จะทำให้ผ้าที่ได้ไม่เป็นปมและต่อกันได้เรียบสนิท |