องค์ความรู้เรื่องการผลิตข้าวเหนียวเขี้ยวงู

ข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 (Khao Niew Khiaw Ngoo 8974)

คนไทยบริโภคข้าวเหนียวใน 2 ลักษณะ คือเป็นข้าวเหนียวในมื้ออาหารปกติร่วมกับ อาหารคาวหวาน ซึ่งมีข้าวเหนียวหลากหลายพันธุ์เป็นทางเลือก อีกลักษณะหนึ่ง คือในรูป ขนม หรือของหวาน เช่น ข้าวเหนียวมูน ข้าวมันปิ้ง ข้าวต้มมัด เป็นต้น ข้าวเหนียวที่ทำข้าวเหนียวมูนได้อร่อยที่สุด คือ ข้าวเหนียวเขี้ยวงู และแหล่งปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงูที่มีคุณภาพทำข้าวเหนียวมูน หรือของ...






ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

1. ประเภทพืชล้มลุก วงศ์หญ้า เป็นข้าวนาสวน ลำต้นเขียว มีความสูงประมาณ 183 เซนติเมตร จัดเป็นข้าวต้นสูง แต่ไม่หักล้มง่าย
2. เป็นข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด เป็นข้าวชนิดไวแสง ปลูกได้เฉพาะในฤดูนาปีเท่านั้น โดยเก็บเกี่ยวได้ประมาณวันที่ 30 พฤศจิกายน ผลผลิต 500 กิโลกรัม ต่อไร่ ซึ่งอาจให้ปริมาณผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าข้าวสายพันธุ์อื่น ซึ่งอาจเป็นข้อด้อยสำคัญที่ไม่จูงใจให้ชาวนานิยมปลูกเท่าที่ควร
3. มีอัตราความต้องการใช้ปุ๋ยหรือ ธาตุอาหารต่ำ จึงเกิดความแข็งแรงของลำต้นทำให้ ต้านทานต่อโรค แมลง
4. ขนาดของเมล็ดเล็ก รูปร่าง เรียว ยาว เป็นข้าวเหนียว ข้าวสารมีสีขาว)
5. คุณภาพในการนึ่งอ่อนนุ่มกว่าข้าวเหนียวทั่วไป มีกลิ่นหอมน่ากิน หลังนึ่งสุกตัวเมล็ดคงรูป หากนำมานึ่งซ้ำ จะอ่อนนุ่ม ไม่เละเหนียวติดมือ เหมาะสำหรับทำข้าวเหนียวมูน หรือทำขนมต่างๆ ได้ดี